อักษรฮันกึล มีทั้งหมด 40 ตัว ดังนี้ (มีวิดีโออธิบายทุกอย่างอย่างละเอียดที่ท้ายคลิปนะคะ)
1. พยัญชนะเดี่ยว มี 14 ตัว ได้แก่ ㄱ ㄴ ㄷ ㄹ ㅁ ㅂ ㅅ ㅇ ㅈ ㅊ ㅋ ㅌ ㅍ ㅎ
2. พยัญชนะซ้ำ มี 5 ตัว ได้แก่ ㄲ ㄸ ㅃ ㅆ ㅉ
3. สระเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ ㅡ ㅣ
4. สระประสม มี 11 ตัว ได้แก่ ㅐ ㅒ ㅔ ㅖ ㅚ ㅟ ㅘ ㅙ ㅝ ㅞ ㅢ
(* มีวิดีโออธิบายประกอบอยู่ท้ายเพจนะคะ)
ส่วนตัวแล้วเราถนัดจัดเป็นกลุ่มตามต้นกำเนิดเสียงและความเข้าใจของเราเองเพราะมันช่วยให้เราจำแต่ละเสียงได้ดีกว่า เพื่อนๆ ลองดูตามนะว่าเข้าใจตามง่ายไหม
1. พยัญชนะ
แนวนอน: เราจะจัดกลุ่มตามต้นกำเนิดเสียง ลักษณะปากและลิ้นเวลาออกเสียง - แถวที่ 1 เป็นกลุ่มที่เสียงมาจากลำคอและไม่โดนปิดกั้น
- แถวที่ 2 เป็นกลุ่มที่เสียงถูกปรับด้วยลิ้นและฟัน
- แถวที่ 3 เป็นกลุ่มที่เสียงถูกปรับด้วยริมฝีปาก
- แถวที่ 4 เป็นกลุ่มที่เสียงลมถูกปรับด้วยฟัน
- แถวที่ 5 เป็นกลุ่มที่เสียงหลบซึ่งในหลายภาษาถือว่าเป็นตัวที่ไม่มีเสียง
แนวตั้ง: เราจัดกลุ่มตามหมวดหมู่ตามความเข้าใจของเรา
- แถวที่ 1 เป็นกลุ่มเสียงลมเบาๆ
- แถวที่ 2 เป็นกลุ่มเสียงจากกกหู
- แถวที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีเสียงก้ำกึ่งระหว่างหนักกับเบา เวลาอยู่พยางค์แรกคนเกาหลีจากออกเสียงหนักกว่า คือออกเหมือนตัวที่อยู่หน้าเครื่องหมาย / ซึ่งได้แก่ ค ท พ ช แต่ออกแค่ครึ่งเดียว คือออกเบากว่า ค ท พ ช ของภาษาไทย ส่วนเวลาที่อยู่พยางค์หลังจะออกเบากว่านั้นไปคือออกเหมือนตัวที่อยู่หลังเครื่องหมาย / ซึ่งได้แก่ ก ด บ จ
ส่วนตัวแล้วเรารู้สึกว่า ค ท พ ช ในแถวสามจะออกเบาแค่ครึ่งเสียง(เมื่อเทียบกับไทย) จะเหมือนเวลาเราออกเสียง ก ด บ จ แล้วเพิ่มลมมากขึ้นมันจะทำให้ฟังแล้วเหมือนเสียง ค ท พ ช เพื่อนๆ ลองทำตามเทคนิคของเราดูนะว่าจะรู้สึกเหมือนกันไหม เช่น เวลาจะออกเสียง ㄱ ถ้าอยู่พยางค์แรก เราจะเริ่มออกด้วยเสียง ก แต่จะจบเสียงด้วย ค เราพยายามฝึกบ่อยๆ บางทีก็ยังออกผิดอยู่ ส่วนเวลาอยู่พยางค์หลังก็จะออกเหมือน ก ด บ จ ไปเลย
- แถวที่ 4 เป็นกลุ่มของเสียงหนัก ที่ออกหนักชัดทุกครั้งไม่ว่าจะอยู่พยางค์หน้าหรือหลัง เป็นเสียง ค ท พ ช ที่ออกหนักกว่าตัวหน้า / ของแถวสามอยู่หนึ่งระดับ คือออกเต็มเสียงเลยเหมือน ค ท พ ช ในภาษาไทยเลย
- แถวที่ 5 เป็นกลุ่มเสียงซ้อนของแถวสามซึ่งจะออกเสียงหนักกว่าตัวหลัง / ของแถวสามอยู่หนึ่งระดับ เสียงหนักของ ก ก็คือ ก ที่ออกหนักขึ้นเหมือน ก ของไทย เสียงหนักของ ด เหมือนเสียง ต ของไทย เสียงหนักของ บ ก็เหมือนเสียง ป ของไทย และเสียงหนักของ จ ก็เหมือนเสียง จ ของไทย
- แถวที่ 6 เป็นเสียงซ้อนของแถวหนึ่งซึ่งมีตัวเดียวคือ ซ ออกเหมือน ซ ของไทยเรา
* ข้อยกเว้น ㅅและ ㅆ เมื่อผสมกับสระ 이 มันจะออกเสียงเป็น ช หนักๆ เราว่ามันออกคล้ายๆ sh ของภาษาอังกฤษ สาเหตุก็อาจจะเป็นเพราะเสียง ซ เป็นเสียงลมผ่านฟันออกมา เวลาออกเสียงฟันบนและล่างจะประกบกัน ส่วนสระ 이 ก็เป็นสระที่จะต้องทำปากแคบและฟันบนล่างก็เกือบจะประกบกันเหมือนกันกับเวลาออกเสีย ซ ดังนั้นเมื่อเอาเสียง ซ มาบวกกับสระอิ มันจะออกเสียงลำบาก ทำให้ทั้ง ซ และ อิ ออกได้ไม่เต็มเสียง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น ช แบบ sh มันจะออกได้ชัดเจน
2. สระ
สระเดี่ยว
- แนวนอน เราแบ่งแถวตามแนวเสียงและรูปปาก
- แนวตั้ง เราแบ่งตาม อ และ ย
สระประสม
- แนวนอน แบ่งตามแถวของสระเดี่ยวตัวแรกที่เอาไปประสม
- แนวตั้ง แบ่งแถวตามสระเดี่ยวตัวที่สองที่เอาไปประสม ยกเว้นสองตัวสุดท้ายของแถวสุดท้ายที่เป็นสระประสมจากสระเดี่ยวผสมกับสระประสม
* ที่ไฮไลท์สีฟ้านั้นคือเสียงที่ออกเกือบเหมือนกัน คืออยู่ระหว่าง เว กับ แว ส่วนตัวเราออก ㅚ ว่า เว และออก ㅙ ว่า แว ส่วน ㅞ เราก็ออก เว เลย
แก้ไขเนื้อหาในวิดีโอนะคะ
นาทีที่ 8:00 ㅢ (อึย) คือ ㅡ + ㅣ (อือ + อี) ในวิดีโอจะพิมพ์ผิด แต่พูดถูกแล้วค่ะ
นาทีที่ 40:48 ตัวㅎ เวลาเป็นตัวสะกดไม่ได้เหมือนแม่เกอวค่ะ แต่มันจะรวมเสียงกับเสียงพยัญชนะตัวถัดไป (มันจะทำให้เสียงพยัญชนะตัวถัดไปมีเสียงเปลี่ยนไป คือมีเสียงหนักขึ้นอีกหนึ่งระดับ) จริงๆแล้วเมื่อเป็นตัวสะกด ฮ มันเหมือนไม่มีเสียง ในสไลด์เรายกตัวอย่างคำว่า 좋아 ซึ่งตัวถัดไปเป็น ㅇซึ่งไม่มีเสียง มันก็เลยไม่มีเสียง เราเลยออก โชว + อา เป็น โชวา ซึ่ง ว ไม่ได้เป็นเสียงของ ㅎ แต่มันเป็นเสียงจากการห่อปากเวลาเราทำเสียง 오 (โอ) ถ้าเราสังเกตจากชื่อของมัน 히읗 (ฮิอึด) ก็เหมือนมันจะเป็นเสียง ด สะกด แต่เนื่องจากในคำที่มีใช้จริงๆ มันไม่ได้เป็นเสียงนี้ตลอด มันก็เลยถูกแยกออกมาต่างหาก
No comments
Post a Comment